เกี่ยวกับสมาคมฯ

ประวัติสมาคมพ่อค้าไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

สมาคมพ่อค้าไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2476 โดยกลุ่มพ่อค้าไทยที่มีฐานะมั่งคั่ง อาทิเช่น พระยาภิรมย์ภักดี ขุนเลิศดำริห์การ พระยาภักดีนรเศรษฐ นายเล็ก โกเมศ นายจุรินทร์ ล่ำซำ นายสวัสดิ์ โอสถานุเคราะห์ ฯลฯ โดยได้มีแนวคิดมาจากฝรั่งต่างชาติ ที่มีสมาคม หรือสถาบันการค้า เพื่อเป็นอำนาจในการต่อรองทำให้กิจการของสมาคมหอการค้า ได้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยตามวัตถุประสงค์

ผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมพ่อค้าไทย พ.ศ.2476

จนมาถึงปี พ.ศ. 2486 รัฐบาลเห็นว่ากิจการของหอการค้าควรเป็นกิจการของรัฐบาลโดยกระทรวงพาณิชย์ จึงได้ดำเนินการขอชื่อหอการค้าไปอยู่ในความดูแล คณะกรรมการสมาคมฯ ในขณะนั้น จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สมาคมพ่อค้าไทย” ขึ้นมาแทนโดยคณะกรรมการชุดเดิม และได้เปลี่ยนแปลงนโยบายและวัตถุประสงค์ เป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก แลกเปลี่ยนความรู้ การบำรุงและส่งเสริมพ่อค้าไทยให้ทำการค้ามากขึ้น และยังจัดให้มีกิจกรรมรื่นเริงและการกีฬาต่างๆ ระหว่างสมาชิกอีกด้วยในนามของ “สมาคมพ่อค้าไทย”

ต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2489 สมาคมพ่อค้าไทยฯ เห็นว่าทางรัฐบาลได้นำชื่อของหอการค้าไปแล้ว ก้อไม่ได้ดำเนินการใดๆ ประกอบกับกระทรวงพาณิชย์ก้อมีหน่วยงานมากอยู่แล้วในการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ จึงได้ทำหนังสือทวงถามไปที่กระทรวงพาณิชย์ฯ ภายหลังได้รับคำตอบว่า ไม่ขัดข้องถ้าภาคเอกชนจะนำไปใช้ สมาคมฯ จึงได้ยื่นจดทะเบียนขึ้นมาใหม่อีกสมาคมฯ โดยใช้ชื่อว่า “สมาคมหอการค้ากรุงเทพ” ขึ้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2489 และได้แบ่งหน้าที่การดำเนินงาน โดยที่ “สมาคมพ่อค้าไทย” ทำหน้าที่ประสานความสามัคคีระหว่างสมาชิกพ่อค้าไทย แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างสมาชิก จัดกิจกรรมทางสังคมมากขึ้น ส่วน “สมาคมหอการค้ากรุงเทพ” มีหน้าที่ในการเชื่อมต่อกับภาพรัฐของบรรดาบริษัทห้างร้านของสมาชิกให้สะดวกขึ้น ส่งเสริมธุรกิจการค้าของสมาชิกให้แพร่หลายมากขึ้น ออกใบรับรองต่างๆ รวมทั้งประสานการติดต่อการค้ากับต่างประเทศด้วย

ไต้พระบรมโพธิสมภาร

Social share: